หน่วยที่ 6 การเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย

การเปลี่ยนแปลงวิถีทางการเมืองของไทย ปรับปรุงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เหมาะแก่ยุคสมัย เปลี่ยนการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักโบราณขัตติยราชประเพณี และยังเป็นพระจริยวัตรตามอุดมคติของพระโพธิสัตว์ที่เสวยราชย์เป็นจักรพรรดิ ซึ่งทำให้ห่างเหินข้าราชการชั้นผู้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎร การรับรู้ของพระมหากษัตริย์ในการติดตามผลงานการบริหารราชการแผ่นดินได้จากเจ้านายขุนนาง ทำให้ราษฎรไม่สามารถพึ่งองค์พระมหากษัตริย์ทางด้านกระบวนการยุติธรรม แม้จะทรงเปิดโอกาสให้มีการถวายฎีกา แต่การถวายฎีกายังเป็นเรื่องยาก ถูกกีดกันกลั่นแกล้งจากเจ้าหน้าที่ข้าราชการ จึงทรงแก้ไขใหม่โดยโปรดให้เขียนฎีกาลงกระดาษ พระองค์เสด็จออกมารับที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์เดือนละ 4 ครั้ง เพื่อผ่อนคลายความทุกข์ยากและพระราชทานความเป็นธรรมแก่ประชาชน พระราชกรณียกิจนี้ นอกจากจะทำให้ทรงทราบเรื่องไม่ดีไม่งามของผู้มีอิทธิพลแล้ว ยังเป็นการปรามมิให้ข้าราชการประพฤติปฏิบัติไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างได้ผล การใช้ระบบคุณธรรมเข้าแทนที่ระบบอุปถัมภ์ในวงราชการ ทรงคำนึงถึงคุณธรรมและความสามารถของผู้จะเข้ารับราชการในตำแหน่ง ทรงใช้ข้าราชการโดยคำนึงถึงความสามารถ ทรงติดตามผลงานของข้าราชการ และโปรดเกล้าฯให้ข้าราชการจากส่วนกลางไปตรวจ และรับรายงานสภาพตามหัวเมืองเสมอ ทรงกวดขันมิให้ข้าราชการข่มเหงราษฎร และสนับสนุนหลักการประนีประนอมในระบบการปกครอง ทรงประกาศเลือกสรรข้าราชการตุลาการชั้นสูง โปรดให้ส่งชื่อเพื่อคัดเลือกแทนการประกาศแต่งตั้งจากพระองค์ เป็นการใช้ความเห็นของคนหมู่มาก การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการให้มีประสิทธิภาพ ทรงวางมาตรการควบคุมให้ข้าราชการมีความประพฤติดีและทรงปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการที่สับสนให้เป็นระเบียบขึ้น ทรงตระหนักว่า ปัญหาหลายประการที่เกิดขึ้นในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น เกิดจากความสับสนในการสื่อสารและเกิดจากระบบราชการเปิดช่องให้ระบบอุปถัมภ์มีอิทธิพลในวงราชการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอให้ข้าราชการประพฤติตนให้สมกับที่ทรงพระมหากรุณาชุบเกล้าชุบกระหม่อม ให้รับราชการ โดยสุจริต เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ทรงวางกฎระเบียบให้ข้าราชการปฏิบัติ เพื่อจะได้รู้จักหน้าที่ของตนอย่างชัดเจน การปรับปรุงระเบียบคำสั่งของราชการ แก้ไขความสับสนในการสื่อสารข้อราชการ เดิมสื่อสารด้วยการออกหมายจากกรมวัง ให้สัสดีและ ทะลวงฟันเป็นผู้เดินบอกไปตามหมู่ตามกรม จึงทำให้ข้อราชการคลาดเคลื่อน จึงทรงออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา ตีพิมพ์ข่าวราชการจากท้องตราและหมายที่ออกประกาศไปรวมเป็นเล่ม แจกไปตามผู้ที่เกี่ยวข้องกับราชการต่าง ๆ ทุกหมู่ กรม หัวเมือง เพื่ออ่านให้เข้าใจในคำสั่งราชการ จะได้ไม่ปฏิบัติผิดพลาดและเก็บรักษาไว้ ทรงให้ประกาศในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่าโดยที่ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาเป็นเวลากว่าหกสิบห้าปีแล้ว ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ได้มีการยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง แสดงว่ารัฐธรรมนูญย่อมเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แห่งกาลเวลาและสภาวการณ์ของบ้านเมือง รัฐธรรมนูญจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์สำคัญที่กระจ่างแจ้ง ชัดเจน สามารถใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศและเป็นแนวทางในการจัดทำกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญได้ และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชาอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๕๓๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาจำนวนเก้าสิบเก้าคน มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับเพื่อเป็นพื้นฐาน สำคัญในการปฏิรูปการเมือง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานกระแสพระราชดำรัสเพื่อเป็นสิริมงคลแก่การทำงาน ภายหลังจากนั้น สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ โดยได้คำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๕๓๙ แล้ว ทุกประการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น