หน่วยการเรียนรู้ ที่ 3

   หน่วยการเรียนรู้ ที่ 3 การเมือง การปกครอง
 
 
               กฎหมาย คือ ข้อปฏิบัติที่คนในสังคมยอมรับเป็นกติกา เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม
               ลักษณะของกฎหมาย สามารถแยกได้ดังนี้
               1. ต้องมีลักษณะเป็นคำสั่ง หรือข้อบังคับให้ประชาชนทุกคนปฏิบัติตาม
               2. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดขึ้นโดยผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ คือ รัฐสภา
               3. มีผลบังคับใช้กับประชาชนทุกคนในประเทศอย่างเท่าเทียมกัน
               4. มีสภาพบังคับ ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องมีโทษ
               กฎหมายที่สำคัญของประเทศเรียงตามลำดับความสำคัญ ได้ดังนี้
               1. รัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
               2. พระราชบัญญัติ  ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของรัฐสภา
               3. พระราชกำหนด  ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีในสถานการณ์ฉุกเฉิน
               4. พระราชกฤษฎีกา  ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เพื่อขยายความในพระราชบัญญัติ
               5. กฏกระทรวง  ตราขึ้นโดยรัฐมนตรีประจำกระทรวง
               6. ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ เทศบัญญัติ  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองคืการปกครองส่วน     ท้องถิ่น
               กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่ต่ำกว่า 10,000 คน  มีสิทธิ์ในการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย โดยยื่นรายชื่อต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ต่อไป
              ข้ันตอนการตรากฎหมายที่ประชาชนมีส่วนร่วมประกอบด้วย 2 ขั้นตอนสำคัญ คือ
              1. ขั้นตอนดำเนินการในสภาผู้แทนราษฎรที่หลังจากประชาชน 10,000 คนยื่นรายชื่อให้กับประธานรัฐสภา
              2. ขั้นดำเนินการใน 3วาระ ดังนี้
                 2.1 ขั้นรับหลักการ
                 2.2 ขั้นการพิจารณารายละเอียด
                 2.3 ขั้นลงมติ เมื่อเห็นชอบก็ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป โดยจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน เมื่อเห็นชอบก็นำร่างกฎหมายให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าถวายในหลวงลงพระปรมาภิไธย และประกาศเป็นกฎหมายต่อไป  ถ้าไม่เห็นชอบร่างกฎหมายนั้นก็ตกไป
              คุณสมบัติของประชาชนผู้มีสิทธิ์ในการเสนอกฎหมาย ประกอบด้วย
              1. จำนวนประชาชน จำนวน 10,000 คน
              2. เป็นผู้มีสัญชาตไทย
              3  เป็นบุคคลที่แปลงสัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
              4. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
              5. มีชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่ต่ำกว่า 90 วัน

 


การปกครองของไทยในปัจจุบัน ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ มีกฎหมายสูงสุด คือรัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขของประเทศ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยยังเป็นประชาธิปไตยที่ไม่เป็นไปตามหลักการ มีการปฏิวัติรัฐประหารยึด อำนาจ ตั้งคณะรัฐบาลและกำหนดบทบัญญัติขึ้นเอง ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพดังที่ควรจะเป็น ดังนั้น จึงเกิดเหตุการณ์ ใหญ่ขึ้นถึง 3 ครั้ง คือ ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 มีกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านอำนาจเผด็จการ อันประกอบไปด้วยประชาชน จากทุกสาขาอาชีพ ภายใต้การนำของนิสิต นักศึกษาจากทุกสถาบัน เป็นเหตุการณ์ที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองการ ปกครองของไทย เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รับรู้ เกิดความหวงแหนและร่วมกันธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยที่ต้องแลกมาด้วยชีวิต และความยากลำบากของเพื่อนร่วมชาติ เหตุการณ์ครั้งที่สอง เกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้มีนิสิตนักศึกษาและประชาชนร่วมกันปกป้องประชาธิปไตย ต่อต้านการกลับมาของกลุ่มอำนาจเก่า ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่ายิ่งไปเป็นจำนวนมาก และครั้งล่าสุดเกิดขึ้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 มีกลุ่มต่อต้านอำนาจเผด็จการและเรียกร้องประชาธิปไตยขึ้นอีก ผลจากการเรียกร้องในครั้งนี้ นำไปสู่การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ มีดังนี้ 1. ฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล 2. ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ประกอบด้วยสมาชิก 2 ส่วน คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ซึ่งประชาชนเลือกตั้งเข้ามาทั้งหมด และวุฒิสมาชิก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามการเสนอ ขึ้นโปรดเกล้าฯ ของนายกรัฐมนตรี 3. ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล มีหน้าที่พิจารณาคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามบัญญัติของกฏหมาย เพื่อให้เกิดความ ยุติธรรมแก่ประชาชน ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติให้ศาลเป็นสถาบันอิสระจากรัฐสภาและรัฐบาล มีคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ทำหน้าที่ควบคุมการแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ เพื่อให้ศาลเป็นสถาบันที่ ธำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย การเปลี่ยนแปลงวิถีทางการเมืองของไทย ปรับปรุงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เหมาะแก่ยุคสมัย เปลี่ยนการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักโบราณขัตติยราชประเพณี และยังเป็นพระจริยวัตรตามอุดมคติของพระโพธิสัตว์ที่เสวยราชย์เป็นจักรพรรดิ ซึ่งทำให้ห่างเหินข้าราชการชั้นผู้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎร การรับรู้ของพระมหากษัตริย์ในการติดตามผลงานการบริหารราชการแผ่นดินได้จากเจ้านายขุนนาง ทำให้ราษฎรไม่สามารถพึ่งองค์พระมหากษัตริย์ทางด้านกระบวนการยุติธรรม แม้จะทรงเปิดโอกาสให้มีการถวายฎีกา แต่การถวายฎีกายังเป็นเรื่องยาก ถูกกีดกันกลั่นแกล้งจากเจ้าหน้าที่ข้าราชการ จึงทรงแก้ไขใหม่โดยโปรดให้เขียนฎีกาลงกระดาษ พระองค์เสด็จออกมารับที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์เดือนละ 4 ครั้ง เพื่อผ่อนคลายความทุกข์ยากและพระราชทานความเป็นธรรมแก่ประชาชน พระราชกรณียกิจนี้ นอกจากจะทำให้ทรงทราบเรื่องไม่ดีไม่งามของผู้มีอิทธิพลแล้ว ยังเป็นการปรามมิให้ข้าราชการประพฤติปฏิบัติไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างได้ผล การใช้ระบบคุณธรรมเข้าแทนที่ระบบอุปถัมภ์ในวงราชการ ทรงคำนึงถึงคุณธรรมและความสามารถของผู้จะเข้ารับราชการในตำแหน่ง ทรงใช้ข้าราชการโดยคำนึงถึงความสามารถ ทรงติดตามผลงานของข้าราชการ และโปรดเกล้าฯให้ข้าราชการจากส่วนกลางไปตรวจ และรับรายงานสภาพตามหัวเมืองเสมอ ทรงกวดขันมิให้ข้าราชการข่มเหงราษฎร และสนับสนุนหลักการประนีประนอมในระบบการปกครอง ทรงประกาศเลือกสรรข้าราชการตุลาการชั้นสูง โปรดให้ส่งชื่อเพื่อคัดเลือกแทนการประกาศแต่งตั้งจากพระองค์ เป็นการใช้ความเห็นของคนหมู่มาก การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการให้มีประสิทธิภาพ ทรงวางมาตรการควบคุมให้ข้าราชการมีความประพฤติดีและทรงปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการที่สับสนให้เป็นระเบียบขึ้น ทรงตระหนักว่า ปัญหาหลายประการที่เกิดขึ้นในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น เกิดจากความสับสนในการสื่อสารและเกิดจากระบบราชการเปิดช่องให้ระบบอุปถัมภ์มีอิทธิพลในวงราชการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอให้ข้าราชการประพฤติตนให้สมกับที่ทรงพระมหากรุณาชุบเกล้าชุบกระหม่อม ให้รับราชการ โดยสุจริต เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ทรงวางกฎระเบียบให้ข้าราชการปฏิบัติ เพื่อจะได้รู้จักหน้าที่ของตนอย่างชัดเจน การปรับปรุงระเบียบคำสั่งของราชการ แก้ไขความสับสนในการสื่อสารข้อราชการ เดิมสื่อสารด้วยการออกหมายจากกรมวัง ให้สัสดีและ ทะลวงฟันเป็นผู้เดินบอกไปตามหมู่ตามกรม จึงทำให้ข้อราชการคลาดเคลื่อน จึงทรงออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา ตีพิมพ์ข่าวราชการจากท้องตราและหมายที่ออกประกาศไปรวมเป็นเล่ม แจกไปตามผู้ที่เกี่ยวข้องกับราชการต่าง ๆ ทุกหมู่ กรม หัวเมือง เพื่ออ่านให้เข้าใจในคำสั่งราชการ จะได้ไม่ปฏิบัติผิดพลาดและเก็บรักษาไว้ ทรงให้ประกาศในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 การเปลี่ยนแปลงวิถีทางการเมืองของไทย ปรับปรุงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เหมาะแก่ยุคสมัย เปลี่ยนการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักโบราณขัตติยราชประเพณี และยังเป็นพระจริยวัตรตามอุดมคติของพระโพธิสัตว์ที่เสวยราชย์เป็นจักรพรรดิ ซึ่งทำให้ห่างเหินข้าราชการชั้นผู้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎร การรับรู้ของพระมหากษัตริย์ในการติดตามผลงานการบริหารราชการแผ่นดินได้จากเจ้านายขุนนาง ทำให้ราษฎรไม่สามารถพึ่งองค์พระมหากษัตริย์ทางด้านกระบวนการยุติธรรม แม้จะทรงเปิดโอกาสให้มีการถวายฎีกา แต่การถวายฎีกายังเป็นเรื่องยาก ถูกกีดกันกลั่นแกล้งจากเจ้าหน้าที่ข้าราชการ จึงทรงแก้ไขใหม่โดยโปรดให้เขียนฎีกาลงกระดาษ พระองค์เสด็จออกมารับที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์เดือนละ 4 ครั้ง เพื่อผ่อนคลายความทุกข์ยากและพระราชทานความเป็นธรรมแก่ประชาชน พระราชกรณียกิจนี้ นอกจากจะทำให้ทรงทราบเรื่องไม่ดีไม่งามของผู้มีอิทธิพลแล้ว ยังเป็นการปรามมิให้ข้าราชการประพฤติปฏิบัติไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างได้ผล การใช้ระบบคุณธรรมเข้าแทนที่ระบบอุปถัมภ์ในวงราชการ ทรงคำนึงถึงคุณธรรมและความสามารถของผู้จะเข้ารับราชการในตำแหน่ง ทรงใช้ข้าราชการโดยคำนึงถึงความสามารถ ทรงติดตามผลงานของข้าราชการ และโปรดเกล้าฯให้ข้าราชการจากส่วนกลางไปตรวจ และรับรายงานสภาพตามหัวเมืองเสมอ ทรงกวดขันมิให้ข้าราชการข่มเหงราษฎร และสนับสนุนหลักการประนีประนอมในระบบการปกครอง ทรงประกาศเลือกสรรข้าราชการตุลาการชั้นสูง โปรดให้ส่งชื่อเพื่อคัดเลือกแทนการประกาศแต่งตั้งจากพระองค์ เป็นการใช้ความเห็นของคนหมู่มาก การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการให้มีประสิทธิภาพ ทรงวางมาตรการควบคุมให้ข้าราชการมีความประพฤติดีและทรงปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการที่สับสนให้เป็นระเบียบขึ้น ทรงตระหนักว่า ปัญหาหลายประการที่เกิดขึ้นในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น เกิดจากความสับสนในการสื่อสารและเกิดจากระบบราชการเปิดช่องให้ระบบอุปถัมภ์มีอิทธิพลในวงราชการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอให้ข้าราชการประพฤติตนให้สมกับที่ทรงพระมหากรุณาชุบเกล้าชุบกระหม่อม ให้รับราชการ โดยสุจริต เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ทรงวางกฎระเบียบให้ข้าราชการปฏิบัติ เพื่อจะได้รู้จักหน้าที่ของตนอย่างชัดเจน การปรับปรุงระเบียบคำสั่งของราชการ แก้ไขความสับสนในการสื่อสารข้อราชการ เดิมสื่อสารด้วยการออกหมายจากกรมวัง ให้สัสดีและ ทะลวงฟันเป็นผู้เดินบอกไปตามหมู่ตามกรม จึงทำให้ข้อราชการคลาดเคลื่อน จึงทรงออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา ตีพิมพ์ข่าวราชการจากท้องตราและหมายที่ออกประกาศไปรวมเป็นเล่ม แจกไปตามผู้ที่เกี่ยวข้องกับราชการต่าง ๆ ทุกหมู่ กรม หัวเมือง เพื่ออ่านให้เข้าใจในคำสั่งราชการ จะได้ไม่ปฏิบัติผิดพลาดและเก็บรักษาไว้ ทรงให้ประกาศในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น