หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ศาสนนิกชน
ประวัติพระอัสสชิ
พระอัสสชิเถระ เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้หนึ่งในกรุงกบิลพัสดุ์ บิดาของท่านเป็นหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ 8 คนที่ได้รับเชิญไปทำนายพระลักษณะ และขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ ครั้งเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช โกณฑัญญพราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในจำนวนพราหมณ์ 8 คนนั้นเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะได้ตรัสรู้แน่นอน จึงได้ชักชวนท่านอัสสชิพร้อมสหาย ไปเฝ้าปรนนิบัติขณะที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ณ อุรุเวลาเสนานิคม และเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ท่านอัสสชิพร้อมด้วยสหายได้พากันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปกตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ครั้นเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ได้เสด็จไปโปรด โดยแสดงธรรมเทศนาชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านอัสสชิได้ดวงตาเห็นธรรม และได้บวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์เช่นเดียวกับสหายทั้ง 4
หลังจากบรรลุพระอรหันต์แล้ว พระอัสสชิเถระได้เป็นหนึ่งในจำนวนพระสาวก 60รูปที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาศพระศาสนารุ่นแรก ในเช้าวันหนึ่ง ท่านได้ออกบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ อิริยาบถอันสงบสำรวมขณะเดินบิณฑบาตของท่านได้ก่อให้เกิดความประทับใจแก่มาณพหนุ่มนามว่า อุปติสสะ ผู้พบเห็นท่านโดยบังเอิญ อุปติสสะจึงติดตามท่านไปห่าง ๆ ครั้นพอได้โอกาสขณะพระอัสสชิเถระนั่งฉันภัตตาหารอยู่ จึงเข้าไปนมัสการและเรียนธรรมะจากท่าน พระอัสสชิเถระออกตัวว่า ท่านบวชไม่นาน ไม่สามารถแสดงธรรมโดยพิสดารได้ อุปติสสะจึงกราบเรียนให้ท่านแสดงธรรมแต่โดยย่อ ท่านจึงแสดงธรรมโดยย่อว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและการดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้อุปติสสะครั้งได้ฟังธรรมแล้วก็ได้ “ดวงตาเห็นธรรม” จึงรีบไปบอกแก่โกลิตะผู้เป็นสหาย และครั้งโกลิตะฟังธรรมนั้นแล้ว ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นเดียวกันจึงได้พากันออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระอัสสชิเถระไม่ปรากฏว่าท่านมีความเชี่ยวชาญด้านใดเป็นพิเศษ ท่านมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย สมถะ ชอบอยู่สงบเพียงลำพัง มีบุคลิกน่าเลื่อมใส สำรวมอินทรีย์ การคู้การเหยียดซึ่งมือและเท้า การเหลียวดูเป็นไปอย่างสงบสำรวม น่าเลื่อมใสยิ่ง และไม่ปรากฏว่าพระอัสสชิเถระมีอายุพรรษาเท่าใด ท่านนิพพานไปเงียบ ๆ โดยไม่มีกล่าวถึงไว้ในคัมภีร์ไหนเลย
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. พระอัสสชิเถระมีบุคลิกภาพที่น่าเลื่อมใส สมถะ สำรวมระวังกิริยามารยาท ดังที่อุปติสสะได้พบเห็นท่านแล้วเกิดความรู้สึกประทับใจ น่าเลื่อมใส ซึ่งบุคลิกภาพเช่นนี้เป็นสื่อที่ชักจูงให้ผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ เข้ามาหา และมาสัมผัสรสพระธรรมเป็นอย่างดี บุคคลผู้สำรวมระวังรักษากิริยามารยาท ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจและน่าเลื่อมใสของผู้อื่น
2. พระอัสสชิเถระเป็นนักสอนศาสนาที่เชี่ยวชาญมิใช่น้อย การประกาศธรรม มิได้หมายความว่าจะต้องพูดเก่ง พูดได้ยืดยาว หากรู้จักพูด รู้จักสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รู้อุปนิสัยของผู้ฟังด้วยแล้ว แม้แสดงเพียงสังเขปก็สัมฤทธิ์ผล ดังท่านได้แสดงแก่อุปติสสมาณพนั้น
3. พระอัสสชิเถระเป็นผู้มีคุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่ท่านทำไว้แก่พระพุทธศาสนา โดยได้เป็นผู้ชักชวนให้อุปติสสมาณพ และโกลิตะมาณพเข้ามาบวช ต่อมาท่านทั้งสองก็ได้เป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา
ประวัติ พระกีสาโคตมีเถรี
เอตทัคคะเลิศทางผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
คัดลอกจากสารานุกรม พระไตรปิฎกฉบับธรรมทาน
กีสาโคตมีเถรีบังเกิดในสกุลคนเข็ญใจ กรุงสาวัตถี ชื่อเดิมของนางว่า โคตมี แต่เพราะตัวผอม เขาจึงเรียกว่า กิสาโคตมี
เวลาเจริญวัยแล้วก็ไปสู่การครองเรือน แต่ก่อนที่นางจะมีคู่ครองเรือน มีเหตุแห่งนิมิตที่บอกว่า นางกีสาโคตมี บุญบารมีให้ปรากฏแก่ตระกูลของสามีซึ่งเป็นเศรษฐี ดังความย่อว่า
ได้ยินว่า ทรัพย์ ๔๐ โกฏิ ในเรือนของเศรษฐีคนหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ได้กลายเป็นถ่านหมด เศรษฐีเห็นเหตุนั้นเกิดความเศร้าโศก จึงไม่ยอมทานอาหาร นอนอยู่บนเตียงน้อย
สหายผู้หนึ่งของเศรษฐีนั้นถามว่า “เหตุไร จึงเศร้าโศกเล่า? เพื่อน”
ครั้นเมื่อได้ฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้ว สหายผู้นั้นจึงกล่าวว่า “อย่าเศร้าโศกเลย เพื่อน ฉันทราบอุบายอย่างหนึ่ง จงทำอุบายนั้นเถิด.”
เศรษฐี: ทำอย่างไรเล่า? เพื่อน.
สหาย: เพื่อน ท่านจงปูเสื่อลำแพนที่ตลาดของตน ทำถ่านให้เป็นกองไว้ จงนั่งเหมือนจะขาย ถ้ามีผู้มาพูดกับท่านอย่างนี้ว่า
‘คนอื่นเขา ขายผ้า น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยกัน ส่วนท่านกลับนั่งขายถ่าน’
ท่านก็จงพูดกับคนเหล่านั้น ว่า ‘ถ้าเราไม่ขายของ ๆ ตน แล้วเราจักทำอะไร?’
แต่ถ้ามีผู้ใดพูดกับท่านอย่างนี้ว่า ‘คนอื่น ขายผ้า น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น ส่วนท่านนั่งขายเงินและทอง”
ท่านก็จงพูดกับผู้นั้นว่า ‘เงินและทองที่ไหนกัน ก็เมื่อเธอพูดว่า ‘นี้ไงเล่า’ ท่านก็จงพูดว่า ‘จงนำเงินทองนั้นมาก่อน เมื่อเขานำมาให้แล้วก็จงรับด้วยมือทั้งสอง ของที่เขาให้ในมือของท่านนั้น จักกลายเป็นเงินและทอง และถ้าผู้นั้นเป็นหญิงรุ่นสาว ท่านจงให้นางแต่งงานกับบุตรของท่านแล้วมอบทรัพย์ ๔๐ โกฏิให้แก่นาง พึงใช้สอยเงินทองที่นางให้ ถ้าเป็นเด็กชาย ท่านพึงให้ธิดาผู้เจริญวัยแล้วในเรือนของท่านแก่เขา แล้วมอบทรัพย์ ๔๐ โกฏิให้แก่เขา ใช้สอยทรัพย์ที่เขาให้.
เศรษฐีนั้นกล่าวว่า “อุบายดี” จึงนำถ่านให้กองไว้ในร้านตลาดของตน นั่งทำเหมือนกะขาย คนเหล่าใดพูดกะเศรษฐีอย่างนั้นอย่างนี้ว่า
“คนอื่นเขา ขายผ้า น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยกัน ส่วนท่านกลับนั่งขายถ่าน” ท่านเศรษฐีก็ให้คำตอบแก่คนเหล่านั้นว่า
“ถ้าเราไม่ขายของ ๆ ตน แล้วเราจักทำอะไร?”
ถ่านกลายเป็นทรัพย์อย่างเดิม
ครั้งนั้น หญิงรุ่นสาวคนหนึ่งชื่อโคตมี ปรากฏชื่อว่า “กิสาโคตมี” เพราะนางมีสรีระแบบบาง เป็นธิดาของตระกูลเก่าแก่ ไปยังประตูตลาดด้วยกิจอย่างหนึ่งของตน เห็นเศรษฐีนั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า
“พ่อ คนอื่น ขายผ้า น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น ส่วนท่านนั่งขายเงินและทอง?”
เศรษฐีถามว่า เงินทองที่ไหนเล่า แม่.
นางโคตมี ท่านนั่งจับเงินทองนั้นเอง มิใช่หรือ?
นางกอบเงินทองเหล่านั้นจนเต็มมือแล้ววางไว้ในมือของเศรษฐีนั้น ถ่านนั้นได้กลายเป็นเงินและทองทั้งนั้น.
ลำดับนั้น เศรษฐีถามนางว่า “แม่ เรือนเจ้าอยู่ไหน.”
เมื่อนางบอกสถานที่อยู่ของนางและเศรษฐีซักถามจนรู้ความที่นางยังไม่มีสามีแล้ว จึงเก็บทรัพย์แล้วนำนางแต่งงานกับบุตรของตน ให้นางรับทรัพย์ ๔๐ โกฏิไว้ ทรัพย์ทั้งหมดได้กลายเป็นเงินและเป็นทองดังเดิม.
พวกชนในสกุลนั้นดูหมิ่นนางว่า เป็นธิดาของสกุลคนเข็ญใจ
สมัยต่อมานางตั้งครรภ์ โดยกาลล่วงไป ๑๐ เดือน นางก็ได้คลอดบุตรคนหนึ่ง ในครั้งนั้นชนทั้งหลายก็ได้ทำความยกย่องนาง ครั้นเมื่อบุตรของนางตั้งอยู่ในวัยพอจะวิ่งไปวิ่งมาเล่นได้ก็มาตายเสีย ความเศร้าโศกก็ได้เกิดขึ้นแก่นาง
นางห้ามพวกชนที่จะนำบุตรนั้นไปเผา เพราะนางไม่เคยเห็นความตาย จึงอุ้มบุตรใส่สะเอวเที่ยวเดินไปตามบ้านเรือนในพระนครแล้วพูดว่า ขอพวกท่านจงให้ยาแก่บุตรของเราด้วยเถิด ดังนี้
ครั้นเมื่อนางเที่ยวถามไปว่า
“ท่านทั้งหลายรู้จักยาเพื่อรักษาบุตรของฉันบ้างไหมหนอ?”
เมื่อนั้นคนทั้งหลายก็พูดกับนางว่า
“แม่ เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือ? เจ้าเที่ยวถามถึงยาเพื่อรักษาบุตรที่ตายแล้ว.”
พวกคนทั้งหลายต่างก็กระทำการเย้ยหยันว่า ยาสำหรับคนตายแล้ว ท่านเคยเห็นที่ไหนบ้าง แต่นางมิได้เข้าใจความหมายแห่งคำพูดของพวกเขาเลย.
ทีนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตคนหนึ่ง เห็นนางแล้วคิดว่า
“หญิงนี้คงจะคลอดบุตรคนแรก ยังไม่เคยเห็นความตาย เราควรเป็นที่พึ่งของหญิงนี้”
จึงกล่าวว่า “แม่ ฉันไม่รู้จักยา แต่ฉันรู้จักคนผู้รู้ยา.”
นางโคตมี: ใครรู้? พ่อ.
บัณฑิต: แม่ พระศาสดาทรงทราบ จงไปทูลถามพระองค์เถิด.
นางกล่าวว่า “พ่อ ฉันจักไป จักทูลถาม พ่อ”
ดังนั้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่สุดข้างหนึ่ง ทูลถามว่า
“ทราบว่า พระองค์ทรงทราบยาเพื่อบุตรของหม่อมฉันหรือ? พระเจ้าข้า.”
พระศาสดา: เออ เรารู้.
นางโคตมี: ได้อะไร? จึงควร.
พระศาสดา: ได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดสักหยิบมือหนึ่ง ควร.
นางโคตมี: จักได้ พระเจ้าข้า แต่ได้ในเรือนใคร? จึงควร.
พระศาสดา: บุตรหรือธิดาไร ๆ ในเรือนของผู้ใด ไม่เคยตาย.ได้ในเรือนของผู้นั้น จึงควร.
นางทูลรับว่า “ดีละ พระเจ้าข้า” แล้วถวายบังคมพระศาสดา อุ้มบุตรผู้ตายแล้วเข้าสะเอวแล้วเข้าไปภายในบ้าน ยืนที่ประตูเรือนหลังแรกกล่าวว่า “เมล็ดพันธุ์ผักกาดในเรือนนี้ มีบ้างไหม? ทราบว่านั่นเป็นยาเพื่อบุตรของฉัน.”
เมื่อเขาตอบว่า มี จึงกล่าวว่า
“ถ้าอย่างนั้นจงให้เถิด”
เมื่อคนเหล่านั้นนำเมล็ดพันธุ์ผักกาดมาให้ จึงถามว่า
“ในเรือนนี้ เคยมีบุตรหรือธิดาตายบ้างหรือไม่เล่า? แม่”
เมื่อเขาตอบว่า “พูดอะไรอย่างนั้น? แม่ คนเป็นมีไม่มาก คนตายนั้นแหละมาก” นางจึงกล่าวว่า
“ถ้าอย่างนั้น จงรับเมล็ดพันธุ์ผักกาดของท่านคืนไปเถิด นั่นไม่เป็นยาเพื่อบุตรของฉัน” แล้วได้ให้เมล็ดพันธุ์ผักกาดคืนไป แล้วก็เที่ยวถามโดยทำนองนี้ ตั้งแต่เรือนหลังต้นไปเรื่อย
จนถึงเย็น นางหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากเรือนที่ไม่เคยมีบุตรธิดาที่ตายลงไม่ได้แม้แต่หลังหนึ่ง จึงได้คิดว่า “โอ กรรมหนัก เราได้ทำความสำคัญว่า ‘บุตรของเราเท่านั้นที่ตาย ก็ในบ้านทั้งสิ้น คนที่ตายเท่านั้นมากกว่าคนเป็น.”
ดังนี้ จึงได้ความสังเวชใจ แล้วจึงออกไปภายนอกนครนั้นทีเดียว ไปยังป่าช้าผีดิบเอามือจับบุตรแล้วพูดว่า แน่ะลูกน้อย แม่คิดว่าความตายนี้เกิดขึ้นแก่เจ้าเท่านั้น แต่ว่าความตายนี้ ไม่มีแก่เจ้าคนเดียว นี่เป็นธรรมดามีแก่มหาชนทั่วไป ดังนี้แล้ว จึงทิ้งลูก ในป่าช้าผีดิบแล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-
ธรรมนี้นี่แหละคือความไม่เที่ยง มิใช่ธรรมของ
ชาวบ้าน มิใช่ธรรมของนิคม ทั้งมิใช่ธรรมสกุล
เดียวด้วย แต่เป็นธรรมของโลกทั้งหมด พร้อมทั้ง
เทวโลก.
เมื่อนางคิดอยู่อย่างนี้ หัวใจที่อ่อนด้วยความรักบุตร ได้ถึงความแข็งแล้ว นางทิ้งบุตรไว้ในป่า ไปยังสำนักพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ได้ยืน ณ ที่สุดข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า
“เธอได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดประมาณหยิบมือหนึ่งแล้วหรือ?”
นางโคตมี ไม่ได้ พระเจ้าข้า เพราะในบ้านทั้งสิ้น คนตายนั้นแหละมากกว่าคนเป็น.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า
“เธอเข้าใจว่า ‘บุตรของเราเท่านั้นตาย’ ความตายนั่นเป็นธรรมยั่งยืนสำหรับสัตว์ทั้งหลาย ด้วยว่า ปัจจุราชฉุดคร่าสัตว์ทั้งหมด ผู้มีอัธยาศัยยังไม่เต็มเปี่ยมนั่นและลงในสมุทรคืออบาย ดุจห้วงน้ำใหญ่ฉะนั้น”
เมื่อจะทรงแสดงธรรมจึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
“มฤตยู ย่อมพาชนผู้มัวเมาในบุตรและสัตว์
ของเลี้ยง ผู้มีใจซ่นไปในอารมณ์ต่าง ๆ ไป ดุจ
ห้วงน้ำใหญ่ พัดชาวบ้านผู้หลับไหลไปฉะนั้น.
ในกาลจบคาถา นางกีสาโคตมีดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แม้ชนเหล่าอื่นเป็นมาก บรรลุอริยทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้นดังนี้แล.
นางบวชในพุทธศาสนา
ฝ่ายนางกีสาโคตมีนั้นทูลของบรรพชากะพระศาสดาแล้ว นางทำประทักษิณพระศาสดา ๓ ครั้ง ถวายบังคมแล้วไปยังสำนักภิกษุณี นางได้อุปสมบทแล้วปรากฏชื่อว่า “กิสาโคตมีเถรี.”
วันหนึ่ง นางถึงวาระในโรงอุโบสถ นั่งตามประทีปเห็นเปลวประทีปลุกโพลงขึ้นและหรี่ลง ได้ถือเป็นอารมณ์ว่า
“สัตว์เหล่านี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นและดับไปดังเปลวประทีป ผู้ถึงพระนิพพาน ไม่ปรากฏอย่างนั้น.”
พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฏีนั่นแล ทรงแผ่พระรัศมีไป ดังนั่งตรัสตรงหน้านาง ตรัสว่า
“อย่างนั้นแหละโคมี สัตว์เหล่านั้น ย่อมเกิดและดับเหมือนเปลวประทีป ถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ปรากฏอย่างนั้น ความเป็นอยู่แม้เพียงขณะเดียว ของผู้เห็นพระนิพพานประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นพระนิพพานอย่างนั้น”
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
ก็ผู้ใดไม่เห็นอมตบท พึงมีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี
ชีวิตของผู้เห็นอมตบทเพียงวันเดียว ยังประเสริฐกว่า
ดังนี้.
จบพระคาถา นางก็บรรลุอรหัต เป็นผู้เคร่งครัดยิ่งในการใช้สอยบริขาร ห่มจีวรประกอบด้วยความปอน ๓ อย่างเที่ยวไป
ต่อมาพระศาสดาประทับนั่งในพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่า พวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง แล.
นางโคตมีเห็นท้าวสักกะ
ได้ยินว่า ในกาลนั้นท้าวสักกะเข้าไปเฝ้าพระศาสดา พร้อมกับเทวบริษัท ในที่สุดแห่งปฐมยาม ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ทรงสดับธรรมกถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.
ในขณะนั้น นางกิสาโคตมีคิดว่า "เราจักเฝ้าพระศาสดา" เหาะมาทางอากาศแล้ว เห็นท้าวสักกะ จึงกลับไปเสีย (การเที่ยวไปกลางคืนเสมอ ๆ ภิกษุณีมิได้ประพฤติ) ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นนางผู้ถวายบังคมแล้ว กลับไปอยู่ ทูลถามพระศาสดาว่า
"พระเจ้าข้า ภิกษุณีนั่นชื่อไร? พอมาเห็นพระองค์แล้วก็กลับ."
นางกิสาโคตมีเลิศทางทรงผ้าบังสุกุล
พระศาสดาตรัสว่า "มหาบพิตร ภิกษุณีนั่น ชื่อกิสาโคตมี เป็นธิดาของตถาคต เป็นยอดแห่งพระเถรีผู้ทรงผ้าบังสุกุลทั้งหลาย" ดังนี้ ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
ปํสุกูลธรํ ชนฺตุ กิสนฺธมนิสนฺถตํ เอกํ วนสฺมึ ฌายนตํ ตมหํ พฺรูมิ พราหฺมณํ.
"เราเรียกชนผู้ทรงผ้าบังสุกุล ผู้ผอม สะพรั่ง
ด้วยเอ็น ผู้เพ่งอยู่ผู้เดียวในป่านั้นว่า เป็นพราหมณ์.”
บุพกรรมในอดีตชาติ
ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไปปรารถนาตำแหน่งนั้น นางเวียนว่ายไปในเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ก็ถือปฏิสนธิในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากิงกิ เป็นพระราชธิดาองค์หนึ่ง ระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ คือ นางสมณี นางสมณคุตตา นางภิกขุนี(ภิกขุณี) นางภิกขุทาสิกา นางธัมมา(ธรรมา) นางสุธัมมา(สุธรรมา) และนางสังฆทาสี ครบ ๗
พระราชธิดาเหล่านั้น ในบัดนี้ [ครั้งพุทธกาลชาติปัจจุบัน] คือพระเขมาเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระปฏาจาราเถรี พระนางกุณฑลเกสีเถรี (พระภัททากุณฑลเกสาเถรี) พระกิสาโคตมีเถรี พระธรรมทินนาเถรี และนางวิสาขา ครบ ๗ ด้วยกุศลกรรมที่ทำไว้แล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้
ดิฉันละร่างกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในภพหลังครั้งนี้ ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐีที่ตกยาก จนทรัพย์ เป็นวงศ์ต่ำ ไปสู่สกุลที่มีทรัพย์ ดังความกล่าวมาแล้วข้างต้น
พระนางมัลลิกา
พระนางมัลลิกาเทวี เป็นตำแหน่งของพระอัครมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศลพระนางมัลลิกา
ขณะนั้นมีอายุ ๑๖ ปี เป็นธิดาของนายมาลาการ หรือ ช่างทำดอกไม้ อาศัยอยู่ที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล มีนามเดิมว่า สิรจิต นางเป็นผู้มีบุญมาก มีรูปร่างผิวพรรณงดงาม รวมถึงเป็นผู้มีปัญญา เฉลียวฉลาด และมีความกตัญญูกตเวทีทุกๆวันนางจะช่วยการงานของบิดา โดยไปเก็บดอกไม้มาให้บิดาทำพวงมาลัย ได้รับผลบุญทันตาเห็น อยู่มาวันหนึ่ง นางได้นำเอาขนมถั่วใส่กระเช้าดอกไม้ ไปยังสวนดอกไม้ ได้พบกับองค์สมเด็จพระบรมศาสดากับทั้งพระภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตรในพระนครก็ดีใจ ได้เอาขนมถั่วเหล่านั้นใส่ลงในบาตรของพระศาสดา เมื่อไหว้แล้ว ก็เกิดปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์แล้วยืนนิ่งอยู่ เมื่อสมเด็จพระบรมศาสทอดพระเนตรแล้วก็ทรงยิ้ม พระอานนท์จึงทูลถามถึงสาเหตุที่ทรงยิ้ม พระองค์ก็ตรัสว่า" อานนท์ กุมาริกานี้จักได้เป็นอัครมเหสีของพระราชาโกศลในวันนี้ ด้วยผลที่ถวายขนมถั่ว "จากนั้นธิดาของช่างดอกไม้ก็ไปถึงสวนดอกไม้ ร้องเพลงไปพลางเก็บดอกไม้ ขณะนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศล สู้รบพ่ายแพ้พระเจ้าอชาตศัตรู แล้วทรงม้าเสด็จหนีมาถึงสวนดอกไม้ ได้สดับเสียงเพลง ก็เกิดความพอพระทัยต่อเจ้าของเสียง เสด็จเข้าไปที่สวนดอกไม้ สนทนาจนได้ความว่า กุมารินีนั้นยังไม่มีสามี จึงโปรดให้ขึ้นหลังม้า เข้าสู่พระนคร
และโปรดให้พานางไปสู่เรือนตระกูล พอเวลาเย็นก็โปรดให้มารับด้วยสักการะใหญ่ อภิเษกบนกองแก้ว แล้วแต่งตั้งให้เป็นพระอัครมเหสี ด้วยความเป็นผู้มีปัญญาและความเฉลียวฉลาดทำให้พระนางมัลลิกาทรงเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นอย่างมากได้ถวายทานที่ไม่มีใครเหมือนเรียกทานนี้ว่าอสทิสทาน
สมัยหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจาริกพร้อมทั้งภิกษุบริวารจำนวน ๕๐๐ รูป เสด็จเข้าไปถึง
พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เข้าเฝ้ากราบทูลอาราธนา เพื่อจะถวายอาคันตุกะทาน ในวันรุ่งขึ้น (อาคันตุกะ คือ ผู้มา) คือ ถวายทานแด่พระพุทธเจ้า และ พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดที่ตามเสด็จมาด้วย แล้วตรัสเรียกชาวนครว่า "จงมาดูทานของเราเถิด" เมื่อชาวบ้านได้เห็นทานของพระราชา
ก็ได้อาราธนาพระผู้มีพระภาคเพื่อเตรียมถวายทานบ้างโดยถวายทานอันประณีตและมากยิ่งกว่าพระราชา ชาวบ้านและพระราชาทำสลับกันไปมาโดยกลายเป็นการแข่งกันทำบุญไปโดยไม่รู้ตัว พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ไม่อาจจะหาของแปลกๆพิสดารกว่าชาวบ้าน เพราะว่าชาวบ้านมีมากย่อมหาของได้พิสดารกว่า เมื่อเป็นดังนี้ทำให้เกิดความหวั่นวิตกว่าจะทำอย่างไรจึงจะให้ทานได้แปลกและดีกว่าชาวบ้าน ทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลกลุ้มพระทัยมาก ตอนนั้นพระนางมัลลิกาได้มาเข้าเฝ้า พระราชาจึงได้ตรัสถามขอความช่วยเหลือจากพระนาง
พระนางมัลลิกาเทวีต้องการที่จะถวายอสทิสทาน(ทานที่ไม่มีใครเหมือน) อยู่แล้ว เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระประสงค์จะถวายทานอันยิ่งกว่าชาวนคร นางจึงกราบทูลให้พระองค์รับสั่งทำดังนี้ คือ
๑) ให้ทำมณฑปทำด้วยไม้สาละไว้สำหรับพระสงฆ์ ๕๐๐ รูปนั่ง และใช้ไม้ขานางเอาไว้ถ่างขาทำเป็นโต๊ะ
ส่วนพระที่เกินจาก ๕๐๐ รูปนั้น นั่งอยู่นอกวงเวียน
๒) ให้ทำเศวตฉัตร ๕๐๐ คัน
๓) ให้ใช้ช้าง ๕๐๐ เชือก ถือเศวตฉัตรกั้นอยู่เบื้องหลังพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป
๔) ให้ทำเรือที่ทำจากทองคำแท้ๆ ๘ ลำ หรือ ๑๐ ลำ เรือเหล่านี้จะอยู่ท่ามกลางมณฑป
๕) ให้เจ้าหญิง ๑ องค์ นั่งบดของหอมท่ามกลางภิกษุ ๒ รูป และ เจ้าหญิงอีก ๑ องค์
จะถือพัดถวายแด่พระภิกษุ ๒ รูป ดังนั้น ภิกษุ ๕๐๐ รูป ก็มีเจ้าหญิง ๕๐๐ องค์
๖) เจ้าหญิงที่เหลือ จะทำหน้าที่นำของหอมที่บดแล้วไปใส่ในเรือท่ามกลางมณฑปทุกๆลำ
เจ้าหญิงบางพวกจะถือดอกอุบลเขียวหรือดอกบัวเขียวเคล้าของหอม เพื่อให้ภิกษุรับเอากลิ่นอบ
(เจ้าหญิง ส่วนใหญ่จะเป็นธิดาของกษัตริย์ และเป็นธิดาของกษัตริย์ข้างเคียง คือ น้องๆรองลงไป
ซึ่งสมัยนั้น พระราชามีพระมเหสีมากถึง ๑๐๐ กว่าพระองค์ จึงไม่เป็นที่ประหลาดใจหากว่าจะมี
เจ้าหญิงถึง ๑๐๐๐ กว่าพระองค์ ) ทำเช่นนี้แล้ว ก็จักชนะประชาชนชาวพระนคร เนื่องด้วยชาวพระนคร
ย่อมไม่มีเจ้าหญิง ไม่มีเศวตฉัตรและไม่อาจมีช้างมากเทียบกับพระราชาได้
เมื่อพระราชาได้สดับเช่นนั้นแล้ว ก็ทรงดีพระทัย รับสั่งให้ทำตามที่พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลทุกประการช้างถือเศวตฉัตรมีไม่พอสำหรับพระสงฆ์เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งให้จัดเตรียมทุกอย่างแล้ว ปรากฏว่านับช้างอย่างไร ก็ไม่พอสำหรับพระภิกษุ ๑ รูป กล่าวคือ ช้างมีมาก แต่ช้างเชื่องนั้นมีไม่พอ จะเหลือก็แต่ช้างที่ดุร้าย พระราชาจึงตรัสแก่พระนางมัลลิกาให้ทราบความตลอดแล้ว ตรัสถามว่าจะทรงทำอย่างไรดี เพราะพระองค์เกรงว่า ช้างดุร้ายจะเข้าทำร้ายพระสงฆ์ พระนางมัลลิกาได้กราบทูลว่า ทราบว่ามีช้างดุร้ายตัวหนึ่งที่ถึงแม้จะดุร้าย ก็สามารถจะปราบได้ด้วยกำลังใจ เมื่อพระราชายังไม่ทรงทราบว่าจะทำได้อย่างไร นางจึงกราบทูลอีกว่า ให้ช้างที่ดุร้ายนั้นยืนใกล้ๆ พระผู้เป็นเจ้า นามว่า องคุลิมาล เนื่องด้วยลูกช้างตัวนี้ เคยต่อสู้กับองคุลิมาลมามิใช่น้อย แต่เวลานี้พระองค์ทรงเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ได้อาศัยบารมีของท่าน ทำให้ลูกช้างอยู่ในอาการสงบใช้หางสอดเข้าไปในระหว่างขา ตั้งหูทั้งสองขึ้นยืนหลับตาอยู่ มหาชนได้แลดูช้างที่ดุร้าย ยืนทรงเศวตฉัตรเพื่อพระเถระ หรือ องคุลิมาล ก็มีความคิดว่า ช้างดุร้ายปานนั้น พระเถระ หรือ องคุลิมาล ย่อมปราบพยศได้เมื่อจัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว พระราชาได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า หม่อมฉันขอถวายสิ่งของทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น เรือทองคำ เตียง ตั่ง รวมทรัพย์ทั้งหมดที่พระราชาถวายในวันเดียวถึง ๑๔ โกฏิ รวมทั้ง เศวตฉัตรหนึ่ง บัลลังก์สำหรับนั่งหนึ่ง เชิงบาตรหนึ่ง ตั่งสำหรับเช็ดเท้าหนึ่ง ซึ่งเป็นของมีราคาสูง ประมาณค่าไม่ได้ อสทิสทานเป็นทานอันยิ่งใหญ่ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า"พระพุทธเจ้า ๑ องค์ จะมีคนถวายอสทิสทานครั้งเดียวในชีวิต และคนที่จะถวายอสทิสทานได้นั้น ต้องเป็นผู้หญิง"พระนางมัลลิกาเทวีนั้น ไม่มีพระราชโอรส เมื่อทรงพระครรภ์ใกล้คลอด พระเจ้าปเสนทิโกศลปรารถนาจะได้พระราชโอรส เมื่อประสูติแล้ว ปรากฏว่าเป็นพระราชธิดา ยังความผิดหวังมาแด่พระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์จึงทรงเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาเพื่อปรับทุกข์ พระพุทธองค์ทรงตรัสปลอบพระทัยว่า " พระโอรส หรือธิดานั้น ไม่สำคัญ เพศไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความแตกต่างในด้านความสามารถ สตรีที่มีความเฉลียวฉลาด ประพฤติธรรม และเป็นมารดาของบุคคลสำคัญ ย่อมประเสริฐกว่า บุรุษ "ด้วยพระดำรัสนี้ ยังความพอพระทัยแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นอย่างมาก ครั้งหนึ่ง
พระเจ้าปเสนทิโกศล ตรัสถามพระนางมัลลิกาเทวีว่า พระนางรักพระองค์หรือไม่ รักมากเพียงใด พระนางมัลลิกาตอบว่า พระนางรักตนเองมากกว่าสิ่งใด เมื่อได้สดับเช่นนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็เกิดความน้อยพระทัย ทรงคิดว่า พระนางไม่ได้รักพระองค์เสมอชีวิตนาง เมื่อมีโอกาสได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยเรื่องนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า " ที่พระนางมัลลิกาเทวีตอบมานั้นถูกต้องแล้ว เพราะความรักทั้งหลายในโลก ย่อมไม่มีความรักใดเทียมความรักที่มีต่อตนเองได้ พระนางมัลลิกาเทวีทรงยึดมั่นในสัจจะตรัสความจริงเช่นนี้แล้ว พระราชาควรจะชื่นชมยินดี "พระเจ้า
ปเสนทิโกศลได้ฟังแล้วจึงคลายความน้อยพระทัยลง พระนางมัลลิกาเทวี ไปตกนรกอยู่ ๗ วันเมืองมนุษย์ เหตุเพราะคำนึงถึงแต่การสะดุดเท้าพระเจ้าปเสนทิโกศล พระนางเป็นหญิงมีความละเอียดอ่อนกรรมเพียงเล็กน้อยก็จะไม่ทำให้ใครขัดเคือง เป็นนักบุญคู่แข่งกับนางวิสาขา บุคคลที่มีเครื่องประดับ เช่นเครื่องมหาลดาปสาธน์นั้นมีเพียงสองท่านเท่านั้นคือนางวิสาขากับพระนางมัลลิกาเทวี คืนวันหนึ่งนางได้สะดุดเท้าพระสวามีคือพระเจ้าปเสนทิโกศล จิตใจก็มีความวิตกกังวลมากเพราะพระนางเคารพพระสวามีเหมือนบิดา เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วเมื่อพระนางตายจากโลกไปก็มีจิตใจกังวลกับเรื่องนี้จึงเอาเท้าไปแช่ในไฟนรกอยู่ถึง ๗ วัน มนุษย์ เมื่อพระนางได้สิ้นชีพพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงบันดาลด้วยฤทธิ์ให้พระเจ้าปเสนทิโกศลลืมที่ถามเรื่องพระนางมัลลิกาเทวี เพราะหากว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลทราบว่าพระนางเอาเท้าไปแช่ในนรกก็จะไม่อยากทำบุญอีกต่อไป เพราะพระนางมัลลิกาเทวี นั้นทำบุญไว้มากยังตกนรก พอผ่านไป ๗วัน แล้วพระพุทธองค์ทรงคลายฤทธิ์
พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงถามว่า ณ เวลานี้พระนางมัลลิกาเทวีไปเกิดที่ไหนพระพุทธเจ้าข้า พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า ณ เวลานี้พระนางไปบังเกิดบนดาวดึงสเทวโลก
ประวัติท่าน หมอชีวก โกมารภัจจ์
เมื่อยังเด็ก อยู่ในความอุปการะ เลี้ยงดูของ เจ้าอภัย ราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร แห่งแคว้นมคธ เมื่อโตขึ้นสมควร จะศึกษาวิชาความรู้ ในชั้นสูงต่อไป เจ้าอภัย จึงให้ไปเรียนวิชาที่ ตักษิลา ท่านชีวก เลือกเรียนวิชาแพทย์อยู่กับอาจารย์ ท่่าน หนึ่ง เรียนอยู่ 7 ปี จึงสำเร็จ วิธีที่อาจารย์ จะสอบความรู้ว่า ศิษย์ คนใด จะออกเป็นหมอ ได้หรือยัง มีกลวิธีการสอบหลายอย่าง แล้วแต่อาจารย์ จะ เห็นควรสอบอย่างไร แก่ศิษย์คนใด เฉพาะ ท่านชีวก อาจารย์ สอบโดยสั่งว่า " ชีวก เธอจงเอาเสียมเล่มนี้ ออกไปตรวจดูบรรดา สมุนไพร รอบกุฎี นี้ โดยรัศมี 1 โยชน์ ให้ตลอด
ถ้าพบต้นไม้อะไรที่ไม่เป็นยา จงเอามาให้ดู " ท่านชีวกถือเสียมเข้าป่า ตรวจ ดูบรรดากลิลไม้ ตลอดหมด ในรัศมี 1 โยชน์ รอบกุฎีี ไม่พบต้นไม้อะไร สักอย่าง ที่ไม่เป็นยา พยายามแล้ว พยายามแล้ว พยายามอีก ที่จะให้ได้ต้นไม้อะไรสักอย่าง เพื่อจะได้เอามาบอกอาจารย์ ว่า ไม่ใช่ยา แต่ก็หาไม่ได้ ในที่สุด ต้องมือเปล่ากับมา บอกอาจารย์ ว่า " ได้ตรวจดูกบิลไม้ หมดทุกอย่าง ในป่า เห็นเป็นยาทั้งนั้น อ้ายที่ไม่เป็นยา หาไม่ได้เลย "อาจารย์ได้ทราบดังนั้น ก็พอใจ เป็นที่ประจักษ์ว่า ท่านชีวก สำเร็จวิชาแพทย์ รู้กบิลไม้ในป่า อย่างเจนจบ ว่าเป็นยา ทุกอย่าง จึงประสิทธิประสาท ให้เป็นผู้สำเร็จในวิชา และเป็นหมอได้ อาจารย์ให้เงินเป็นค่าเดินทางเข้าเมือง และแนะให้ หมอชีวกไปหากินที่เมือง สาเกต นครหลวง แห่ง แคว้น อโยธยา ที่อาจารย์ แนะให้ไปเมือง สาเกต ก็เพราะว่า ที่ เมืองนั้น มี หมอมีชื่อเสียงมาก อาจารย์รู้ภูมิของหมอชีวก ตลอดเวลาที่ให้การศึกษา ว่าหมอชีวก เป็นคนฉลาดมาก ภูมิความรู้ดี ความ จำดี ทั้งบุคลิกลักษณะ นิสัยใจคอก็ดี ถ้าให้ไปเมืองสาเกต อย่างไรเสีย หมอชีวกต้องเด่นแน่ๆ และเป็นความประสงค์ ของ อาจารย์ ที่จะ ให้หมอชีวก ไปแสดงฝีไม้ลายมือ อวดบรรดาคณาจารย์ และคนทั้งหลาย ให้เห็นภูมิควารู้ ความสามารถ ของ อาจารย์ผู้ให้การอบรมศึกษา ด้วย เพราะศิษย์ ดี ย่อมเป็นศรีแก่ครู หมอชีวก รับพร และลาอาจารย์ แล้วก็ไปเมือง สาเกต ธรรมดา คนที่เป็นหมอ เมื่อทำการรักษาพยาบาล คนเจ็บไข้ ก็ย่อมจะรักษาคนไข้หาย ไม่มาก ก็น้อยด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งเป็นการปกติ ไม่ค่อยมีใคร เล่าลือ อื้อฉาวประการใด แต่หมอชีวก เมื่อไปเป็นหมอ ที่เมืองสาเกต ได้ทำความชื่นชม ยินดี และเป็นทีพึ่ง ของราษฎรเป็นอันมาก ผิดกับหมออื่นที่เคยมี คือได้ ช่วยชีวิตของหญิงคลอดลูก และเด็กๆ ให้รอดพ้นจากความ ตายได้มาก เพราะแต่ก่อน ไม่เคยมีหมอเก่ง เช่นนี้ จนชาวบ้าน ชาวเมือง ให้ฉายา หรือ อภิไธย ว่า " โกมารภัจจ์ " แปลว่า " หมอผู้ชำนาญโรคเด็ก " และเรียกกันว่า หมอชีวก โกมารภัจจ์ แต่นั้นมา หมอชีวก มีความรู้ ความสามารถ ไม่เฉพาะ แต่เรื่องโรคเด็ก และการเอาลูกออก หรือ กุมารผลิต เท่านั้น แต่มีความรู้ ความสามารถ ในโรคทางยา และทางผ่าตัด ทั่วไป ด้วย รักษาคนไข้ รายสำคัญ ๆ เป็นที่เล่าลือมาก ดังเรื่้องต่อไปนี้เมียเศรษฐีคนหนึ่ง ที่เมืองสาเกต เป็นโรคมีอาการปวดหัวมานาน ตั้ง 7 ปี เคยให้หมอมีชื่อเสียงรักษา เสียเงินเสียทอง ไปมาก ไม่มีใครรักษาหาย และจนไม่มีใครรับ รักษา หมอชีวกรับรักษา แต่โดยที่หมอ ชีวก ยังเป็นหมอหนุ่ม และเป็นหมอ มือใหม่ คนไข้เอาสัญญาว่า ุถ้ารักษาไม่หาย จะไม่สมนาคุณ เพราะเข็ด เสียเงินทองไปมาก ก็รักษาไม่หาย หมอชีวกตกลง ในการรักษา หมอชีวก เอาเนยเหลว 1 ประสาร ( 1 ฟายมือ ) ต้มเข้ากับยาต่างๆ เสร็จแล้ว เอายากรอกเข้าทางจมูกคนไข้ ปรากฏว่า กรอกครั้งเดียวเท่านั้น เมียเศรษฐีหายโรคปวดหัว เศรษฐีให้รางวัล หมอชีวก เป็นเงิน 16,000 กหาปณะ ( เหรียญ เงินโบราณอินเดีย ) และแถมให้รถม้าคันหนึ่ง พร้อมด้วยม้าเทียม และคนรับใช้ เสร็จด้วย เงินจำนวนนี้ หมอชีวก จึงใช้เป็น ค่าเดินทาง ไปเมืองราชคฤห์ อันเป็นเมืองหลวง ของแคว้นมคธ ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ ปกครองอยู่ และเป็นบ้าน เดิมของหมอชีวก และด้วยเงินจำนวนนี้ หมอชีวก เอาไปใช้หนี้ ให้แก่เจ้าอภัย ซึ่งเีคยมีอุปการะคุณ ให้ทุนไปเ่ล่าเรียน วิชา แพทย์ ที่ตักษิลา อีกด้วย จำนวนเงินที่เศรษฐีให้เป็นรางวัล แก่หมอชีวกนั้น เป็นพยานอันแสดงอย่างหนึ่่งว่า เศรษฐีโบราณ เขา สมนาคุณหมอ โดยหมอมิได้เรียกร้องเลย เป็นมูลค่าสูงมาก คนไข้รายสำคัญ ต่อมา คือ พระเจ้าพิมพิสารเอง พระองค์ประชวร เป็นฝีคัณฑสูตร์ ( คือฝีใดๆ ที่เกิดตามริมของทวาร หนัก ) ฝีแตก แล้วกลายเป็นแผลลำราง เป็นเรื้อรังมานาน หมกชีวก รับรักษา หมอใช้น้ำมันชนิดหนึ่งใส่ ในไม่ช้าแผลรำราง ก็หายเป็นปกติ พระเจ้าพิมพิสาร โปรดแต่งตั้ง ให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ และนำตัว เข้าเฝ้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า หมอชีวกได้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ พระบรมศาสดา และคณะสงฆ์ แต่นั้นมา ตามพุูทธประวัติ แสดงหลายตอนว่า พระพุทธเจ้า กับหมอชีวก โกมารภัจจ์ ใกล้ชิดสนิทกันมาก การที่พระบรมศาสดา ทรงยกย่อง รับเอาหมอ ชีวก เป็นแพทย์ประจำพุทธองค์ นั้น แสดงว่า หมอชีวก เป็นแพทย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ มากทีเดียวคนไข้รายต่อมา เป็นพ่อค้า ที่เมือง ราชคฤห์ ป่วยเป็นโรคปวดหัว มานานหลายปี หมอชีวก รักษาด้วยวิธีผ่าตัด คือ มัดตัวพ่อค้าเข้ากับที่นอน แล้วผ่าหนังศีรษะ แหวกออก ดึงหนอนออกมาได้ 2 ตัว แล้วเย็บแผล ใส่น้ำมัน หายเป็นปกติ หนอน ที่หมอชีวก เอาออกได้นั้น ไม่ทราบว่าเป็นหนอนอะไร อาจเป็นเจ้าตัวจิ๊ด ที่เรารู้กันเดี๋ยวนี้กระมังรายต่อมาเป็นลูกเศรษฐี ในกรุงพาราณสี เป็นเด็ก ชองเล่นหกคะเมน ตีลังกา ควงตัดลำไส้เกิดบิดกันขึ้น กินอาหารไม่ ย่อย ปวดท้อง จนหน้าท้องเขียว ต้องขอร้องให้หมอ ชีวก ไปรักษา หมอไปทำการผ่าตัด ควักไส้ที่บิดกันนั้น แสดงให้เมีย เศรษฐี ดู แล้ว จัดลำไส้เข้าที่เดิม เย็บแผล แล้วใส่น้ำมันหาย หมดชีวก ได้รับรางวัล ตามแบบที่เคยได้จาก เศรษฐีอีก 16,000 กหาปณะคนไข้ที่หมอชีวก รักษาลำบากมาก คือ พระเจ้าปโชติแห่งกรุงอุชญาณี ประชวรเป็น กาฬสิงคลี หรือดีซ่าน ได้ทรงขอร้อง ไปยังพระเจ้าพิมพิสาร ขอหมอชีวก ไปรักษา หมอชีวก ออกจากกรุงราชคฤห์ ไปยังกรุง อุชญาณ๊ เมื่อหมอตรวจดูอาการ พระเจ้า ปโชติ แล้ว ก็รู้สึก ว่า พระเจ้า ปโชติ เป็นผู้ยากแก่การรักษามาก ยากยิ่งกว่ารักษาโรค เพราะพระเจ้า ปโชติ รับสั่งว่า จะใช้ยาอะไรรักษา ก็ได้ทั้งนั้น ขออย่างเดียว อย่าใช้ ยาที่เข้าเนยเหลว เท่านั้น ถ้าขืนให้กิน เนยเหลว เป็นเล่นงานกัน เผอิญยา ที่หมอ ชีวก จะใช้รักษาโรคชนิดนั้น ก็เป็นยา ต้องเข้าเนยเหลว ครั้นจะไม่รับรักษา ก็จะกลายเป็นหมอใจน้อย ไม่มีปัญญา ชาว เมือง ก็จะดูุถูกว่า หมดภูมิ ครั้นจะรับรักษา ถ้าพระเจ้า ปโชติ เรอ หรือ อ้วก ออกมา ได้กลิ่นเนยเข้า ตนก็จะได้รับโทษ ถ้าจะ ไม่ใส่เนยเหลว ก็ผิดหลักวิชา และจะไม่ได้ผลดี ลังเลใจอยู่ แต่หมอชีวก เป็นคนไม่สิ้นแต้ม ในที่สุดรับรักษา และตกลงใน ต้องให้พระเจ้าปโชติ กินเนยเหลว ให้ได้ เป็นไรเป็นกัน จึงจัดแจงผสมยา เ้ข้าด้วยเนยเหลว แต่ใช้ยาอื่นๆ ผสมดับกลิ่น ดับรส และสีของเนย ให้กินไม่รู้สึก เมื่อให้ พระเจ้าปโชติ เสวยยา แล้ว หมอ ชีวก ก็ออกอุบาย รีบทูลขอช้างเร็ว 1 เชือก เพื่อไปเก็บยา ในป่าอีก เมื่อพระเจ้าปโชติ สั่งให้แล้ว หมอชีวก ก็ขึ้นช้าง หนีกลับกรุงราชคฤห์ ไม่รอให้พระเจ้าปโชติ เรอ หรืออ้วก ได้กลิ่นเนย ต่อมาไม่ช้า พระเจ้าปโชติอ้วก ได้กลิ่น และรส เนย ก็ทรงพิโรธ หาว่า หมอ ชีวก หลอกให้กินเนยเหลว ขัดพระโองการ จึงสั่ง ให้ทหารเร็ว ออกตามจับ ตัวหมอชีวกให้ได้ ทหารเร็วไปพบ หมอชีวก กำลังพักผ่อนกินอาหารอยู่ในป่า จึงตรงเข้าไปจะจับตัว หมอจึงพูดว่า " ท่านมาจับตัวเราหรือ ได้สิ ไม่เป็นไร รอให้เรากินอาหารเสียก่อน แล้วเราจะให้ท่านจับตัวไป แต่ แนะ ท่านมา กำลังเหนื่อย จงนั่งพักผ่อนและดื่มน้ำ ให้เป็นที่สบายก่อน " ว่าพลางหมอก็ยื่นขันน้ำ ซึ่งหมอเอายาถ่ายอย่างแรง ลอบเจือลง ในขณะนั้น ส่งให้ ทหารรับขันน้ำไปดื่มด้วย ความกระหาย ในไม่ช้า หมอชีวก ก็เสร็จจากการกินอาหาร และทันใดนั้น ทหาร เร็ว ก็มีอาการอุจจาระร่วง อย่างแรง ไม่มีกำลังพอ ที่จะจับตัว หมอได้ หมอชีวกก็ รีบขึ้นช้าง บ่ายหน้าไปกรุงราชคฤห์ ฝ่ายพระเจ้า ปโชิต ปรากฏว่า หายจาก โรคดีซ่๋านอย่างเด็ดขาด รู้สึกบุญคุณของหมอ จึงให้จัดผ้า สีเวยก ส่งไปประทานแ่ก่หมอ ชีวกสำรับ หนึ่ง ผ้้่าสีเวยก นั้น พระพุทธโฆษาจารย์ ( อินเดีย) สันนิษฐานว่า อาจเป็นผ้าที่ชาว อุตตรกุรุ ใช้ห่อศพไปป่าช้า หรือเป็นผ้าไหม ที่สตรี ชาว สิวิ ทอด้วยฝีมืออย่างดีโดยปกติหมอชีวก โกมารภัจจ์ คอยดูแลเอาใจใส่ ถวายพระอภิบาล แต่องค์สมเด็จ พระบรมศาสดา และภิกษุสงฆ์ ทั้งหลายอยู่เป็นนิตย์ มีเรื่องว่า คราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงรู้สึก ไม่ค่อยสบาย หมอชีวกผสมน้ำมันถวาย ให้พระอานนท์ ทาถู นวดพระพุทธองค์ อยู่ หลายเพลา ไม่หาย หมอชีวกเห็นว่า จำเป็นต้อง ถวายพระโอสถถ่าย การใช้ยาถ่าย หรือยาอะไรๆ แก่ คนไข้นั้น หมอทั่วๆไป ก็โดยมาก คงให้ยา อย่างที่ให้คนทั่วๆ ไป แต่หมอชีวก มีความรอบรู้เท่า ถึงการในสภาพ ของบุคคล แต่ละคนที่จะรักษา กับรอบรู้ ในเรื่องยา อย่างพิสดาร การให้ยาถ่าย แก่พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นพระสุขุมาลชาติ ต้องระมัดระวัง และต้องเป็นยา อย่างเบาที่สุด หมอชีวกจึงเอาดอกบัว มาขยี้ ประมาณ 3 กำมือ ผสมเข้ากับยาต่างๆ ถวายให้พระพุทธเจ้า ทรงดม ครั้งละ 1 กำมือ พระพุทธองค์ ทรงดม 1 ครั้ง ก็ไปพระบังคมหนักอย่างสบาย 10 ครั้ง โดยไม่รู้สึกเสียพระกำลังเลย แม่แต่น้อย เมื่อทรงถ่ายแล้ว หมอชีวก ก็สรง พระพุทธองค์ ด้วยน้ำอุ่น และงดถวายจังหันชั่วคราว ไม่ช้า พระบรมศาสดา ก็ทรง พระสำราญ เป็นปกติ การให้ยาถ่าย แบบที่หมอชีวก ถวายพระพุทธเจ้านั้น ถ้าเราไม่คิดให้ลึกซึ้ง อาจเห็นไปว่า หมอชีวกทำ แผลงอวดดี หรืออวดวิเศษ กะสมบัติยาถ่าย ให้ยาถ่ายอะไรๆ ก็ได้ ถ้าคิดอย่างนั้น ก็เป็นความคิดที่ผิด เพราะคนเรา มีธาตุ ไม่เหมือนกัน บางคนธาตุเบา บางคนธาตุหนัก ยาถ่ายที่พระพุทธองค์ทรงดมนั้น ถ้าให้คนอย่างเราๆ ดม คิดว่าดมจนตายก็คง ไม่ไป นอกจากจะไปเอง คนธาตุหนักหรือพวก สกุลชาติ กินดีเกลือหนัก 1 บาท บางคนไม่สะเทือนท้อง คนธาตุเบา เพียงแค่ น้ำลูกสมอต้ม ก็เดินปราด การวางยา แ้ม้ยาถ่าย แก่ผู้บริสุทธิ์ยิ่ง จึงเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับความรอบรู้สูงมาก และหมอ ชีวก คน เดียวที่รู้ถึง เพราะเป็นแพทย์ประจำพระพุทธองศ์ภิกษุสงฆ์ เจ็บไข้ มักเกี่ยวกับท้องเสีย เพราะอาหารที่ชาวบ้าน พากันถวาย ไม่ค่อยระมัดระวัง ให้สะอาด และไม่พิจารณา ว่าอะไรควร ไม่ควร เหมือนดั่งครั้งหนึ่ง พวกสุภาพสตรี ชาวเมืองเวสาลี หรือไพสาลี พากันนิยมถวายของหวานแก่ พระภิกษุ จนเอือม ทำเอาพระ เจ็บป่วย กันมาก แต่เคราะห์ดี หมอชีวก ตามไปแก้ไขทันท่วงทีหมอโบราณที่มีชื่อเสียงหลายคน แต่หมอชีวกโกมารภัจจ์ พวกหมอโบราณนับถือ มาก และในกระบวนความรู้เรื่องยา ไม่มีตัวจับ หมอชีวกคนนี้ เขาเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า " เภสัชราชา " คือ พระยายา หรือราชาแห่งยา ขึ้นชื่อว่า กบิลไม้แล้ว ที่ หมอชีวก จะไม่รู้จัก ใช้เป็นยาไม่มี หมอชีวก เป็นหมอเก่งทั้งทางยา และทางผ่าตัด มีชื่อเสียง ไม่เฉพาะในแว่นแคว้น มหาภารตะ และบูรพทิศ ยังมีชื่อเสียง ไป เหยียบถึงประเทศอิยิปต์ คืือ ในครั้งนั้น พระเจ้าปโตเลมี กษัตริย์ แห่งประเทศ อิยิปต์ ทรงประชวร ต้องขอหมอ ชีวก จากพระเจ้าพิมพิสาร ไปรักษา จึงหาย ฮิปปอคราติส หมอฝรั่งโบราณชาติกรีก ซึ่งฝรั้งเดี๋ยวนี้ ยก ย่องหนักหนา ว่าเป็น บิดาแห่งการแพทย์ของเขา ก็เป็นรุ่นราว คราวเดียว และในสมัยเดียวกันกับ หมอชีวก ฮิปปอคราติส จะ กล่าวอะไรไว้ในวิชาแพทย์ หมอฝรั่งมักพูดถึงบ่อยๆ อย่างไม่เบื่อ แต่ถ้าจะเอาคุณวุฒิ ความรู้ ปรีชาสามารถ ตลอดจนฝีไม้ ลายมือกันแล้ว ฮิปปอคราติส ก็ดี หมอฝรั่งคนอื่นในสมัยนั้น ก็ดี และแถมให้อีก 1,000 ปี ต่อมา มือก็ไม่ถึงข้างซ้ายของหมอชีวก โกมารภัจจ์ หมอชีวก ได้พูดอะไรไว้บ้าง ในวิชาแพทย์ เรามีความเสียใจ ที่ไม่มีหลักฐาน บริบูรณ์ เพราะประเทศอินเดีย ภายหลัง ที่พระบรมศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดับขันธ์ เข้าปรินิพพาน แล้ว พระพุทธศาสนา ยุกาล ล่วง มาแล้วถึง พ.ศ. 1743 พวก มหมัด ( อิสลาม หรือมุสลิม ) เข้าบุกรุก และยึดครองประเทศอินเดีย ประเทศอินเดีย ก่อนที่มหมัด บุกเข้าไปนั้น เป็นที่รู้กันว่า มีความเจริญมาก ในศิลปวิทยา และวิชาการแพทย์ วิชาเหล่านี้ เจริญอยู่ในมหาวิทยาลัย และในโรงพยาบาลอัน เป็นส่วนเกี่ยวข้อง อยู่กับ โบสถ์ วิหาร ของพระุพุทธศาสนา ที่เมือง ปาตลิบุตร ตักษิลา สารนาธ นาลันทะ วิกรมศิลา และ อุทนตปุระ เมื่อพวกมหมัด เข้าตีประเทศอินเดีย นั้น เมือง อุทนตปุระ และวิกรมศิลา ก็แตก ถึงซึ่งความพินาศ พวกมหมัด ฆ่าภิกษุสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา เสียมาก ที่หนีได้ ก็ไปเมืองกบิลพัสดุ หนีลงทางอินเดียตอนใต้บ้าง หนีเข้าประเทศพม่าบ้าง สถานที่ โบสถ์วิหาร ทรัพย์สมบัติ ตำรับตำรา ถูกเผาทำลายมาก ถูกเก็บเอาไปบ้าง นับแต่นั้นมา ศิลปวิทยา และการแพทย์ ของอินเดีย ก็เสื่อมโทรมเป็นลำดับ และต่อมา อีกไม่กี่สัตวรรษ อินเดียก็เสีย แก่อังกฤษอีก อังกฤษ ขนเอาทรัพย์สมบัติ ของ อินเดีย ไปเสียอีกมาก ที่เมือง อุทนตปุระ และ วิกรมศิลา เสียแ่ก่มหมัดนั้น ก็แบบเดียวกับ ที่กรุงศรีอยุธยาของไทยเสียแก่ พม่า ทรัพย์สมบัติ ที่ถูกเผาผลาญ เสียหายไป รวมทั้งตำรับตำรา ต่างๆ เป็นอันมาก เป็นอันไม่มีวันได้กลับคืนวิชาแพทย์ แผนโบราณ ในระบบอายุรเวท ของขาวอาเซียนี้ มุสลิม ได้เอาไป ประเทศอารเบีย ก่อนนานแล้ว และพระ เจ้ากาหลิบ รับสั่ง ให้แปล ออกเป็นภาษาอาหรับ เมื่อ พ.ศ. 1243 ประมาณ 1252 ปีมาแล้ว และที่แปลออกนั้น ก็ได้เป็น ต้นเค้า วิชาแพทย์ของฝรั่งในยุโรปด้วย วิชาแพทย์ของอาเซีย ในระบบอายุรเวท ยังไม่ถึงประเทศจีน อิหร่าน และกรุงโรม และใน ครั้งนั้น ทางประเทศ กัมพูชา ( เขมร ) ก็ได้วิชาแพทย์นี้ไป ปรากฏว่าได้จัดตั้ง อโรคยาศาลา ( สุขศาลา หรือโรงพยาบาล ) ขึ้นถึง 102 แห่ง ดวงอาทิตย์ ขึ้นทางตะวันออก ก่อนฉันใด ศาสดาและ บรรดาวิชาความรู้ ทั้งหลาย ก็เกิดขึ้นทาง ตะวันออก ก่อนฉันนั้น แต่เวลานี้ความเจริญ กำลังรุ่งเรือง อยู่ทางตะวันตก ดูคล้ายกับ ความเจริญ คล้อยตามไปกับดวงตะวันกระนั้นความรู้ ความสามารถ ของหมอชีวก ที่กล่าวมาแล้ว แสดงว่า วิชาตรวจโรคของหมอโบราณ มีความแม่นยำมาก ถ้า ไม่แม่นจริง จะผ่าหัว ผ่าท้องคนโบราณไม่ได้ ทั้งแสดงความรู้ ความสามารถ ในการผ่าตัด ยาที่หมอชีวก ใช้ใส่แผล ต้อง เป็นยา อันตุภูตะ หรือภูตหาร( Antiseptic ) และเป็นยาอันวิษมะ หรือ วิษมหาร ( Antitoxic ) มิฉะนั้นจะรักษาแผลให้หาย ไม่ได้ ดีเช่นนั้น เครื่องมือผ่าตัด ของหมอโบราณชาวเอเซีย ในเอนไซโคลปีเดีย บริเตนนิกา ( Encycloedia Brittainica ) ฉะบับพิมพ์ครั้ง ที่ 9 ของ อังกฤษ กล่าวไว้ดังนี้
SURGICAL INSTRUMENTSusrata describes more than one hundred surgical instruments, made of steel. They should have good handles and firm joints be well polished., and sharp enought to divide a hair : they should be perfectly clean, and kept in flannel in a wooden box. They included various shapes of scalpets. bistouries, lancets, scarifiers, saws, bone nippers, scissors, trocars and needles. They were also blunt hooks, loops, probes ( including a caustic holder ) , directors, sounds, scoops, and forceps ( for polypi etc) as well as catheters, syringes, a rectal speculum, and bougies. They were fourteen varieties of bandages. The favourite form of splint was made of thin slips of bamnoo bound together with string and cut to the lenght required. Wise says that he has frequently used this admirable splint, particularly for fractures of the thigh, humerus radius, and ulna, and it has been subsequently adopted in English army under the name of " patent rattan-cane splint "
แปลใจความว่าดังนี้
" ในคัมภีร์ กุสสรุต ชี้แจง เครื่องมือผ่าตัดไว้ มากกว่า 100 ชิ้น ทำด้วยเหล็กอย่างดี มี ด้านและข้อต่อแน่นหนา เกลี้ยง เกลา มีความคม สามารถผ่าเส้นผมได้ เครื่องมือเหล่านั้น สะอาด ห่อผ้าสักหลาด เก็บไว้ในหีบไม้ มีมีดผ่าตัด มีดผ่าฝี มีดผ่า ตัดสองคม มีดเฉือนผิวหนัง เลื่อยตัดกระดูก คีมจับกระดูก กรรไกร เครื่องมือเจาะอวัยวะ เข็มเย็บแผล ขอเกี่่ยวอวัยวะ ห่วง หมุดหยั่งแผล รางนำมีด เครื่องหยั่ง ช้อนขูดแผล และปากคีบ หรือคีม หลอดสวนปัสสาวะ เครื่องฉีด เครื่องเปิด ถ่างทวาร หนัก เครื่องหยั่งเครื่องถ่างทวาร มีผ้าพันธะ ชนิดต่างๆ 14 ชนิด มีเฝือกที่ทำด้วยซี่ไม้ไผ่อย่างน่าชม ไวส์ เคยทำใช้บ่อยๆ ในการเข้าเฝือก กระดูกหัก เช่น กระดูกโคนขา กระดูกโคนแขน กระดูกแขนนอก กระดูกแขนใน และ ต่อมา กองทัพบกของ อังกฤษ ก็ได้เอาแบบอย่างไปใช้ เรียกว่า" เพเท็นท แร็ทแทน-เคน สพลินท "
......................................................
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น